การแข่งขันทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ลงทะเบียนกิจกรรมการแข่งขัน

ลงทะเบียนเต็มแล้ว/ปิดรับ
รายละเอียดกิจกรรม

cp-fair2-programing.jpg

Computing Fair 2024 College of Computing (19 August 2024)

 

1.  ชื่อกิจกรรม (ชื่อเต็ม):  การแข่งขันทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

2.  ชื่อกิจกรรม (ชื่อย่อ):  การแข่งขันทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

3. ผู้รับผิดชอบ: ผศ.สันติ ทินตะนัย และกรรมการทีมงาน

4. วัน – เวลา:  วันที่ 19 สิงหาคม 2567 (09.00น.เป็นต้นไป)

5. จำนวนผู้เข้าร่วมประมาณ 90 คน

6. รายละเอียดโครงการ

      วัตถุประสงค์  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์ เพื่อพัฒนาการทางด้าน ขั้นตอนวิธีการคิด(Algorithm)   การเขียนชุดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์(Computer Programming)  ซึ่งจะต้องแก้ปัญหาโจทย์ในเวลาที่จำกัด

7. คุณสมบัติของผู้แข่งขัน

         ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กำหนดให้นักเรียน โรงเรียนละไม่เกิน 6 คน (โดยต้องระบุชื่ออาจารย์ผู้นำทีม1 ท่านของโรงเรียนที่จะพาเดินทางมาแข่งขัน) โดยเป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมแยกเดี่ยวรายคน คิดคะแนนเป็นรายคน

8. กติกาการแข่งขัน

      รายละเอียด กติกาและข้อกำหนดของการแข่งขัน

      จะมีโจทย์ข้อสอบให้ แล้วผู้เข้าแข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้ปัญหาโจทย์ดังกล่าว โดยมีระบบตรวจโปรแกรมอัตโนมัติ(Grader)   

(1.)  ข้อกำหนดในภาพรวม

-   นักเรียนผู้เข้าแข่งขันลงทะเบียนที่หน้าห้องแข่งขัน ตึกวิทยวิภาส SC09 ชั้น 2 วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ เวลา 9.00–9.30 น.

-   ห้ามนำอุปกรณ์สื่อสาร เอกสาร ตำราเข้าในห้องแข่งขัน และไม่อนุญาตให้สอบถามกัน

-   ไม่อนุญาตให้ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต (Internet) ใดๆ ที่นอกเหนือจากระบบของการแข่งขัน (รวมทั้งไม่อนุญาตให้ติดต่อออกภายนอกห้องระบบของการแข่งขัน)

-   ให้ใช้งานระบบการแข่งขันเท่าที่กำหนดเท่านั้น  ห้ามกระทำการใดๆที่จะรบกวนการทำงานของระบบเครือข่ายการแข่งขัน

-   การแข่งขันทักษะการเขียนโปรแกรมจะใช้ภาษา C ในการทดสอบ ( .c เท่านั้น )    โดยมีตัวแปลภาษา(compiler) คือ gcc

-   ผู้ดำเนินการแข่งขันได้ติดตั้งเครื่องมือชื่อ Code::Blocks เพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมไว้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งจะมีโปรแกรมคู่มือดูคำสั่งภาษา C (C reference) ไว้ให้ด้วย

-   เมื่อประจำเครื่องแล้วให้ผู้เข้าแข่งขันตรวจสอบเครื่องมือและตัวแปลภาษา (ภาษา C ) ให้เสร็จภายในเวลา 10 นาที

-   ผู้เข้าแข่งขันเริ่มทำข้อสอบเมื่อได้รับสัญญาณจากกรรมการคุมสอบ

-   ผู้เข้าแข่งขันสามารถยกมือ แจ้งขอส่งกระดาษสอบถามโจทย์ได้ ไม่เกินคนละ  3  ครั้ง 

-   ข้อสอบจะมีหลายข้อ ข้อละ 100 คะแนน ในเวลาจำกัดคือ 2 ชั่วโมง (10.00 – 12.00 น.)

-   ในระหว่างการแข่งขัน เมื่อผู้เข้าแข่งขันเขียนโปรแกรมคำตอบข้อใดเสร็จแล้วและสามารถรัน(Run)ใน Code::Blocks  ได้แล้ว  ผู้เข้าแข่งขันต้องจะส่งโปรแกรมคำตอบดังกล่าว ให้กับระบบตรวจโปรแกรม(Grader)  ซึ่งระบบจะแจ้งให้ผู้เข้าแข่งขันทราบว่าโปรแกรมที่ส่งนั้นรันผ่านหรือไม่ผ่าน  (ผลลัพธ์ตรงกับข้อมูลทดสอบเบื้องต้นในโจทย์หรือไม่)  หากผ่านจะต้องส่งแบบตรวจทุกข้อมูลทดสอบของข้อดังกล่าวเพื่อคำนวณคะแนน (หากไม่ส่งจะถือว่าไม่ต้องการได้คะแนน)

-    หากผู้เข้าแข่งขัน ไม่ส่งโปรแกรมที่เขียนข้อใดเข้าสู่ระบบตรวจอัตโนมัติ  จะถือว่าไม่ได้ทำโจทย์ข้อดังกล่าวและไม่ได้คะแนนในข้อนั้น  

-    ระบบตรวจโปรแกรม(Grader) จะใช้งานได้ภายในห้องสอบเท่านั้น

-  กรรมการจะตรวจโปรแกรมคำตอบ จากผู้เข้าแข่งขันที่ส่งเข้าระบบตรวจโปรแกรม(Grader)และจะต้องส่งแบบตรวจทุกข้อมูลทดสอบของข้อดังกล่าวเพื่อคำนวณคะแนนเท่านั้น  และหากผู้เข้าแข่งขันส่งโปรแกรมคำตอบมากกว่า 1 ครั้งต่อ 1 โจทย์  ระบบจะตรวจและคิดคะแนนโปรแกรมคำตอบที่นักเรียนส่งครั้งล่าสุดเท่านั้น

-    ไม่อนุญาตให้ผู้เข้าแข่งขันออกจากห้องสอบ ก่อนหมดเวลาการแข่งขัน

-    การตรวจจะใช้ข้อมูลทดสอบจริงข้อละ 10 ชุดๆ ละ 10 คะแนน คิดเป็น 100 คะแนนต่อข้อ

-    การประมวลผลคะแนนจะกระทำโดยรวมทุกข้อ แล้วเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเพื่อจัดระดับของรางวัล

-     คำตัดสินของคณะกรรมการฯเป็นอันสิ้นสุด

 

(2.) ข้อกำหนดในรายละเอียดของระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษาที่ใช้ในการแข่งขัน

2.1 โปรแกรมคำตอบที่ผู้เข้าแข่งขันเขียนนั้น ให้เขียนตามมาตรฐานของภาษา C ไม่อนุญาตให้เขียนโปรแกรมที่ทำงานใน Graphic Mode

2.2 ฟังก์ชั่นทั้งหมดในการเขียนโปรแกรม กำหนดให้ใช้ฟังก์ชั่นจากคลังมาตรฐานของภาษา C (The Standard C Library) และ Standard Template Library (STL) เท่านั้น

     - ไม่อนุญาตให้ใช้ฟังก์ชันจัดการกับแฟ้มและอุปกรณ์โดยตรงที่กำหนดรูปแบบใช้งานในแฟ้ม (fentl.h), (io.h) และ (iomanip.h)

     - ไม่อนุญาตให้โปรแกรมสร้างแฟ้มข้อมูลสำรองเพิ่มเติมระหว่างการทำงาน ห้ามอ่านหรือเขียน แฟ้มข้อมูลอื่น นอกเหนือจากที่โจทย์ระบุ

     - ไม่อนุญาตให้เรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ (เช่น ผ่านทางฟังก์ชัน system) หรือเรียกใช้ system call นอกเหนือจากที่ใช้งานปกติ

     - ไม่อนุญาตให้ทำการคำนวณแบบมัลติโปรเซสซิง (multi-processing) เช่น ไม่อนุญาตให้โปรแกรมเรียกใช้ฟังก์ชัน ใน thread library ต่างๆ   เป็นต้น

2.3 โปรแกรมภาษา C ที่ผู้เข้าแข่งขันเขียนขึ้นในระหว่างการแข่งขัน กำหนดให้เขียนโปรแกรมที่ส่วนขยายเป็น .c    สำหรับภาษา C และต้องอยู่ในรูปแบบที่สามารถแปล (compile) ให้เป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานได้โดยสมบูรณ์ จากบรรทัดคำสั่ง (command line)

2.4 ใช้ GCC (GNU compiler collection) ในการตรวจโปรแกรมเพื่อให้คะแนน โดยใช้วิธีการแปลและให้ทำงานจากบรรทัดคำสั่งเท่านั้น

 

9. เกณฑ์การให้คะแนนและคณะกรรมการตัดสิน

คณาจารย์ที่เป็นกรรมการจัดการแข่งขันทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

       การประมวลผลคะแนนจะกระทำโดยรวมทุกข้อ แล้วเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยเพื่อจัดระดับของรางวัล ( หากบางรางวัลไม่มีผู้ได้รับ หรือ บางรางวัลอาจมีผู้ได้คะแนนเท่ากันมากกว่า 1 คน  คณะกรรมการฯจะทำการพิจารณากระจายเงินรางวัลเพื่อจัดสรรให้ ) และ คำตัดสินของคณะกรรมการฯเป็นอันสิ้นสุด


         * การประกาศผลและรางวัลสำหรับผู้เข้าแข่งขัน

          ประกาศผลการแข่งขันวันที่ 19 สิงหาคม 2567 ช่วงบ่ายเวลาประมาณ 13.30 น. ( ใน web วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ https://computing.kku.ac.th/ )


          รางวัลสำหรับผู้เข้าแข่งขัน

การมอบรางวัล วันที่ 19 สิงหาคม 2567  ช่วงบ่ายเวลาประมาณ 14.00 น. ณ. ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 ของ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 รับเงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 รับเงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร

รางวัลชมเชย 2 รางวัล รับเงินรางวัลละ 500 บาท พร้อมเกียรติบัตร


          * นักเรียนและครูอาจารย์ผู้ดูแลที่เข้าร่วมทุกคนจะได้เกียรติบัตรการเข้าร่วมการแข่งขัน


      * นักเรียนที่ไม่ได้รับรางวัล แต่ทำคะแนนถึงระดับที่กรรมการพิจารณาว่ามีความรู้ความสามารถทางด้านทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักเรียนจะได้รับเกียรติบัตรประเภทนี้ด้วย โดยจะแจ้งภายหลังให้นักเรียนดาวน์โหลดเกียรติบัตรดังกล่าวแบบไฟล์ดิจิทัล


          * นักเรียนสามารถนำเกียรติบัตรที่ได้รับทุกประเภท มาใช้ประกอบการยื่นเข้ารอบ Portfolio ของวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

10. กำหนดการรับสมัคร

      ช่วงการรับสมัครและวิธีรับสมัคร ให้เป็นไปตามประกาศของ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

      ผู้เข้าแข่งขันเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กำหนดให้นักเรียน โรงเรียนละไม่เกิน 6 คน (โดยต้องระบุชื่ออาจารย์ผู้นำทีม1 ท่านของโรงเรียนที่จะพาเดินทางมาแข่งขัน) โดยเป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรมแยกเดี่ยวรายคน คิดคะแนนเป็นรายคน

     *รับผู้เข้าสมัครร่วมการแข่งขัน จำนวนจำกัดประมาณ 90 คน  โรงเรียนใดสมัครก่อนได้สิทธ์ก่อน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย