Computing Robot Contest 2025

รายละเอียดกิจกรรม

ลงทะเบียนเข้าร่วม
สถานะการลงทะเบียน
36.7%
36.7%

ลงทะเบียนแล้ว: 22 คน

รับได้: 60 คน

คงเหลือ: 38 ที่

สถานะ: เปิดรับสมัคร

เหลือ 38 ที่
เปิดรับลงทะเบียน - สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้
รายละเอียดกิจกรรม

Computing Robot Contest 2025

การแข่งขันหุ่นยนต์ไทยประดิษฐ์ ชิงรางวัลวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษา

วันที่ 19 สิงหาคม 2568 | เวลา 09:00 น. เป็นต้นไป
ข้อมูลภาพรวมการแข่งขัน
ผู้รับผิดชอบ
ผศ.ดร.สายยัญ สายยศ
รูปแบบการแข่งขัน
แข่งเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน
สถานที่จัดงาน
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แพลตฟอร์ม
Arduino IDE
Arduino Mega/Uno
รายละเอียดโครงการ

ปัจจุบันเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีการนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้แทนแรงงานของมนุษย์ในงานที่มีลักษณะอันตราย หรือแม้แต่ในบ้านเรือนก็ได้มีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อนำมาใช้ในหลายๆด้าน จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนากำลังคนให้สามารถรองรับกับสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้น ดังนั้นเพื่อสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เด็กไทยหันมาสนใจในเรื่องการเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาหุ่นยนต์จึงเป็นเรื่องสำคัญ

วัตถุประสงค์การจัดงาน

Computing Robot Contest 2025 จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนมีทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมแบบอัตโนมัติ โดยเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันจาก Logo Robot เป็นหุ่นยนต์ไทยประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยในด้านความคิดสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของประเทศด้านคอมพิวติ้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
ระดับการศึกษา: นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา
รูปแบบการแข่งขัน: แข่งเป็นทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน
การเตรียมอุปกรณ์: ผู้เข้าแข่งขันต้องนำหุ่นยนต์ที่ประกอบไว้ล่วงหน้า สามารถเตรียมมาได้ 2 ตัว สำหรับแข่งในสนามทั้ง 2 สนาม
กติกาการแข่งขัน
รูปแบบการแข่งขัน

การแข่งขันจะประกอบด้วย 2 สนาม ทีมที่ได้คะแนนรวมสูงสุดจะเป็นผู้ชนะ

หมายเหตุ: ทำการชั่งน้ำหนักและวัดขนาดเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติก่อนเวลาแข่งขัน

9.1 การเขียนโปรแกรมสงวนให้ใช้ได้แค่โปรแกรม Arduino IDE เท่านั้น หรือเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมที่ทางคณะกรรมการอนุญาต
9.2 ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arduino Mega หรือ Arduino Uno หรือไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นอื่นที่ทางคณะกรรมการอนุญาต
9.3 การแข่งขันจัดขึ้น 2 สนาม โดยการแข่งขันแต่ละสนามจะแข่งในเวลาที่ต่างกัน
9.4 การแข่งขันแต่ละทีมสามารถใช้หุ่นยนต์ได้ 1 ตัวสำหรับแต่ละสนามการแข่งขัน และทีมสามารถใช้หุ่นยนต์ตัวเดียวกันแข่งทั้ง 2 สนามได้ โดยจะมีช่วงเวลาให้ดำเนินการปรับแต่งหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการแข่งขันแต่ละสนาม
9.5 การเขียนโปรแกรมและปรับแต่งหุ่นยนต์และทดสอบสนามจะถูกกำหนดช่วงเวลาก่อนการแข่งขันของแต่ละสนามเป็นเวลาสนามละ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาที
9.6 ช่วงเวลาเขียนโปรแกรมและปรับแต่งหุ่นยนต์อนุญาตให้เฉพาะสมาชิกในทีมเท่านั้นที่อยู่ภายในบริเวณจัดการแข่งขัน
9.7 การเข้าไปทดสอบบริเวณสนามสามารถทดสอบได้ตามคิว คิวละไม่เกิน 5 นาที โดยจะมีคณะกรรมการดูแลความเรียบร้อย
9.8 ในกรณีที่สนามเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุแล้วจำเป็นต้องซ่อมแซม ถ้าการแข่งขันของทีมนั้นๆยังไม่แล้วเสร็จ กรรมการจะทำการหยุดเวลาแล้วจะดำเนินการเริ่มแข่งขันต่อเมื่อซ่อมสนามเสร็จด้วยเวลาที่ยังเหลืออยู่
9.9 ไม่จำกัดแหล่งพลังงาน มอเตอร์ และเซ็นเซอร์ที่ใช้
9.10 หุ่นยนต์ที่ใช้ต้องทำงานด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบประกอบวงจรพื้นฐานบนบอร์ด และต้องไม่ถูกควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล (Remote Control)
เงินรางวัล
รางวัลที่ เงินรางวัล รางวัลเพิ่มเติม
1 3,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
2 2,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
3 1,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
ชมเชย 500 บาท 2 รางวัล พร้อมใบประกาศนียบัตร
เกณฑ์การให้คะแนน

รายละเอียดแสดงในข้อมูลเพิ่มเติม (ดาวน์โหลดได้ด้านล่าง)

กำหนดการรับสมัครและการแข่งขัน
การเตรียมตัว: แต่ละทีมสามารถประกอบตัวหุ่นและเขียนโปรแกรมได้ล่วงหน้า
ระหว่างการแข่งขัน: จะมีการดำเนินการให้แต่ละทีมได้ดำเนินการแก้ไขหุ่นและโปรแกรม
การตัดสินการได้รับรางวัล
วิธีการตัดสิน
  • ผลคะแนนของแต่ละสนามของแต่ละทีมจะถูกนำมารวมกัน
  • หุ่นยนต์ที่ได้คะแนนรวมสูงสุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย จะเป็นทีมผู้ชนะการแข่งขันและได้รับรางวัลตามลำดับ
กรณีคะแนนเท่ากัน

หากคะแนนรวมมีค่าเท่ากัน คณะกรรมการจะพิจารณาจากเงื่อนไขของเวลาที่ใช้ ทีมที่ใช้เวลาน้อยกว่าจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน

การตัดสินขั้นสุดท้าย

หากมีกรณีอื่นใดที่ไม่ได้กำหนดในเงื่อนไข ผลการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด

ข้อมูลติดต่อและข้อมูลเพิ่มเติม
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับแต่ละสนามการแข่งขัน

ดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติม (PDF)

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผู้รับผิดชอบ: ผศ.ดร.สายยัญ สายยศ
วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น



คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนเพื่อลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

เข้าสู่ระบบ